หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ความเป็นมาของยันต์หน้าพระลักษณ์สุดยอดยันต์แห่งยันต์

     

     
     ภาพยันต์หน้าพระลักษณ์ ตัวผู้
    .
    ความเป็นมาของยันต์หน้าพระลักษณ์ สุดยอดยันต์แห่งยันต์
    (จากบทสัมภาษณ์ของพระครูประภาสธรรมทัต วัดหนองม่วง)

    เมื่อประมาณปี พ.ศ.2537 พระครูประภาสธรรมทัต (พระอาจารย์ป้อม) ท่านได้บังเอิญพบกับลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อสวัสดิ์ วัดหุบมะกล่ำ ซึ่งหลวงพ่อสวัสดิ์ท่านเป็นพระอาจารย์ที่ได้ถ่ายทอดวิชาเข็มทองคนองฤทธิ์และยังเป็นพระหลวงอาของพระอาจารย์ป้อมอีกด้วย คุณโยมผู้นั้นได้แนะนำให้พระอาจารย์ป้อมไปเรียนศึกษาต่อวิชาบางอย่างเพิ่มเติมจากอาจารย์เฉลียว ช่างชัย ที่จังหวัดนครปฐม เพราะท่านอาจารย์เฉลียว ช่างชัย ท่านเป็นผู้รู้จริงในสรรพวิชาต่างๆและยังเป็นผู้ที่เก็บรักษาพระยันต์โบราณไว้มากมาย ซึ่งพระอาจารย์ป้อมก็ได้สนใจและปฎิบัติตามคำที่คุณโยมท่านนั้นแนะนำ โดยพระอาจารย์ป้อมได้เดินทางไปหา อาจารย์เฉลียว ช่างชัย ทุกวันเสาร์เพื่อร่ำเรียนศึกษาต่อวิชาตามคำบอกกล่าวของคุณโยมผู้นั้นอยู่เป็นเวลาถึงสองปี  ท่านได้ศึกษาเรียนรู้วิชาการต่างๆมากมายหลายแขนง แต่มีวิชาอยู่สามแขนงที่พระอาจารย์ป้อมรู้สึกสนใจเป็นพิเศษ วิชาดังกล่าวคือ 1. วิชาตำรามหามนต์เงาะถอดรูป 2. วิชาตำรามหามณีจินดามนต์ และ3. วิชาตำราสร้างยันต์หน้าพระลักษณ์ 
     
    ภาพยันต์หน้าพระลักษณ์ ตัวเมีย
     
    โดยเฉพาะวิชาตำราสร้างยันต์หน้าพระลักษณ์ วิชานี้ได้สูญหายไม่สามารถหาผู้สืบทอดมาเป็นเวลากว่าสองร้อยปีแล้ว(วิชานี้ได้ถูกค้นพบอีกครั้งโดย ท่านอาจารย์แหน๋ ฆาราวาสจอมขมังเวทย์) ท่านอาจารย์เฉลียว ช่างชัย ได้รับสืบทอดวิชานี้มาจาก ท่านอาจารย์แหน๋ ซึ่งเป็นฆาราวาสจอมขมังเวทย์อยู่ที่จังหวัดอ่างทอง แต่ท่านเป็นคนที่มีพื้นเพมาจากจังหวัดสุรินทร์ อาจารย์เฉลียว ช่างชัย ได้รับสืบทอดวิชาตำราสร้างยันต์หน้าพระลักษณ์ เมื่อสมัยท่านยังบวชเป็นสามเณรซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุประมาณ 12 ปี ส่วนท่านอาจารย์แหน๋นั้นก็แก่ชรามากแล้วอยู่ระหว่างระยะบั้นปลายของชีวิต แต่ท่านได้เก็บรักษาวิชาตำราสร้างยันต์หน้าพระลักษณ์ไว้อย่างหวงแหน ท่านอาจารย์แหน๋ไม่ยอมถ่ายทอดวิชานี้ให้กับผู้ใด จนกระทั่งมาถึงระยะสุดท้ายของชีวิตท่าน ท่านอาจารย์แหน๋กลัวว่าวิชานี้จะสูญหาย สาบสูญไปโดยไร้ผู้สืบทอด เหมือนอย่างสมัยที่ท่านต้องสืบเสาะค้นหาวิชานี้กลับมาอย่างยากลำบาก และเผอิญท่านได้มาพบกับอาจารย์เฉลียว ช่างชัย ซึ่งขณะนั้นได้บวชเป็นสามเณรน้อย ประกอบกับความมีปัญญาเฉลียวฉลาดเป็นที่ถูกอัธยาศัย ถูกใจของท่านอาจารย์แหน๋ยิ่งนัก ท่านอาจารย์แหน๋จึงได้เมตตายอมถ่ายทอดวิชาสร้างยันต์หน้าพระลักษณ์นี้สืบต่อให้กับ อาจารย์เฉลียว ช่างชัย จนหมดสิ้น โดยได้กำชับนักหนาว่าอย่าได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้กับใคร จนกว่าจะเจอผู้ที่มีอุปนิสัยจิตใจที่ดี เหมาะสมที่จะเรียนวิชานี้ได้ ถึงจะให้ถ่ายทอดวิชานี้แก่ผู้นั้น หากไม่พบผู้ที่เหมาะสม สมควรถ่ายทอดให้แล้ว ก็ขอให้ปล่อยให้วิชานี้สาปสูญต่อไปอีกครั้งหนึ่ง ท่านอาจารย์เฉลียว ช่างชัย ได้รับการถ่ายทอดวิชาสร้างยันต์หน้าพระลักษณ์ มาตั้งแต่สมัยยังเป็นสามเณรอายุ 12 ปีนั้น ท่านก็เก็บรักษาวิชาสร้างยันต์หน้าพระลักษณ์นี้ไว้ อย่างหวงแหนเช่นเดียวกับอาจารย์ของท่าน จนอายุท่านมากแก่ชราแล้ว ก็ยังหวงแหนไม่ยอมถ่ายทอดวิชานี้สืบต่อให้กับใคร อนึ่งอาจเป็นเพราะวิชาสร้างยันต์หน้าพระลักษณ์นี้มีอิทธิฤทธิ์อิทธิคุณแรงกล้า ประกอบกับรับปากอาจารย์ของท่านไว้ ท่านเลยกลัวว่าผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชานี้ไป หากไม่ใช่คนดีไม่อยู่ในศีลในธรรมแล้ว จะนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ก็จะเป็นภัยต่อผู้อื่นหรืออาจทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนได้ จนแม้เมื่อพระอาจารย์ป้อมได้มาฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านแล้ว และได้ศึกษาสรรพวิชาต่างๆอยู่กับท่านเป็นเวลาถึงสองปีแล้วก็ตาม ท่านอาจารย์เฉลียว ช่างชัย ก็ยังไม่ยอมถ่ายทอดวิชานี้ให้กับพระอาจารย์ป้อม จนกระทั่งเมื่อพระอาจารย์ป้อมได้กล่าวอ้อนวอนขอเรียนวิชานี้ เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์สร้างความเจริญให้กับพระพุทธศาสนา ทำนุบำรุงวัดวาอาราม ท่านอาจารย์เฉลียว ช่างชัย จึงได้ใจอ่อนยินยอมถ่ายทอดวิชาตำราสร้างยันต์หน้าพระลักษณ์นี้ให้กับพระอาจารย์ป้อมอย่างหมดสิ้น รวมทั้งวิชาตำรามหามนต์เงาะถอดรูป และวิชาตำรามหามณีจินดามนต์ดังกล่าวข้างต้นด้วย
     
     
    ภาพยันต์ครูสายเข็มทองและยันต์หน้าพระลักษณ์ ตัวผู้
     
    อิทธิคุณของยันต์หน้าพระลักษณ์
    .
                    ยันต์หน้าพระลักษณ์นั้น ถือว่าเป็นสุดยอดยันต์แห่งยันต์อย่างแท้จริง โดยในรายละเอียดของตัวยันต์นั้น ประกอบขึ้นด้วยอักขระที่มีอิทธิคุณครอบคลุมทางเมตตามหานิยมเป็นมหาเสน่ห์อย่างแรงทั้งสิ้น การจะเขียนยันต์หน้าพระลักษณ์ได้นั้น ผู้ที่จะเขียนจะต้องเป็นคนมีอุปนิสัยและพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีอยู่ในศีลในธรรม และมีความเมตตาโอบอ้อมอารี จะต้องมีความขยันหมั่นเพียร ฝึกฝนจิตใจเป็นเวลานานนับปี จนจิตผู้นั้นก่อเกิดเป็นสมาธิและมีตบะกล้าแข็ง ซึ่งเมื่อขณะทำการเขียนยันต์หน้าพระลักษณ์นั้น จะเกิดมีอาการขนลุกตั้งชัน ใบหน้าชา ใบหูชา คล้ายลักษณะอาการของคนของขึ้น จึงจะเรียกได้ว่าเขียนยันต์หน้าพระลักษณ์ได้สำเร็จ ถึงจะสามารถทำให้ยันต์หน้าพระลักษณ์นี้ เกิดอิทธิคุณสมดังปรารถนาได้ ซึ่งแม้แต่ตัวท่านพระอาจารย์ป้อมเอง ซึ่งท่านได้ร่ำเรียนวิชาเข็มทองคะนองฤทธิ์และฝึกฝนอบรมจิตมาเป็นเวลานานหลายปีจนสามารถทำให้เข็มทองที่ท่านฝังให้กับลูกศิษย์มีอิทธิฤทธิ์เคลื่อนที่ไปมาในร่างกายของลูกศิษย์ได้ รวมทั้งยังได้ศึกษาร่ำเรียนวิชาแขนงอื่นๆกับท่านอาจารย์เฉลียว ช่างชัย ต่ออีกสองปี ก็ยังต้องใช้เวลาฝึกฝนร่ำเรียน วิชาตำราสร้างยันต์หน้าพระลักษณ์นี้อีกเป็นเวลานานถึงแปดปี ถึงจะสามารถเขียนยันต์หน้าพระลักษณ์นี้ ให้เกิดอิทธิคุณสมดังปรารถนาได้สำเร็จอย่างที่บูรพาจารย์ได้บันทึกไว้ในตำรา
     
    ภาพยันต์ครูสายเข็มทองและยันต์หน้าพระลักษณ์ ตัวเมีย 
     
                พระอาจารย์ป้อมได้นำยันต์หน้าพระลักษณ์ ที่ได้สูญหายไปกว่าสองร้อยปีกลับมาใช้ โดยท่านพระอาจารย์ป้อม ได้นำยันต์หน้าพระลักษณ์มาเขียนลงเพิ่มในแผ่นทองคำ ที่จะนำมารีดเป็นเส้นลวดเพื่อมาทำเป็นเข็มทองคะนองฤทธิ์ เพื่อเพิ่มอิทธิคุณให้กับเข็มทองคะนองฤทธิ์มากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้นำยันต์หน้าพระลักษณ์ มาทำเป็นผ้ายันต์,ตะกรุดและวัตถุมงคลอื่นๆ แจกจ่ายให้แก่ศิษยานุศิษย์นำไปใช้ เพื่อเป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือศิษยานุศิษย์ในด้านต่างๆ และได้นำปัจจัยที่ได้รับการถวายจากศิษยานุศิษย์ มาทำนุบำรุงวัด รวมทั้งใช้สร้างเสนาสนะต่างๆภายในวัดให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งถือเป็นการยังประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งด้วย  ดังนั้นจึงถือได้ว่าในยุคปัจจุบันนี้ พระอาจารย์ป้อม เจ้าอาวาสวัดหนองม่วง เป็นพระเกจิอาจารย์องค์แรก ที่ได้นำยันต์หน้าพระลักษณ์ซึ่งได้สูญหายไร้ผู้สืบทอดมากว่าสองร้อยปีนั้น กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเผยแพร่ให้คนทั้งหลายได้รู้จักกับยันต์หน้าพระลักษณ์นี้อีกครั้งหนึ่ง
    .
    เรียบเรียงโดย
    แว่นวัดอรุณ
    ข้อมูลจาก
    กะฉ่อนพระเครื่อง

    • Update : 25/4/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch