หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงโคขุน-2

    การเลี้ยงขุน

              วันที่เริ่มขุนควรวัดรอบอกโคและเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับโคขุน เช่น เบอร์ตัว วันเกิดโค (ถ้ามี) เบอร์พ่อ เบอร์แม่ พันธุ์โคที่ขุน ลงในบัตรหน้าคอกโคขุนเป็นรายตัว

              ให้อาหารข้นสำเร็จรูปมีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 14% ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยให้โคกินเต็มที่ ควรให้กินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง อย่าน้อยควรให้วันละ 2 ครั้ง ในฤดูร้อนควรให้อาหารตอนเช้ามืดหรือตอนเย็นเมื่ออากาศเย็น จะทำให้โคกินอาหารได้มากขึ้น

              ต้องมีน้ำสะอาดให้โคกินตลอดเวลา โคจะกินน้ำวันละประมาณ 20-50 บลิตร ขึ้นอยู่กับขนาดโคและสภาพอากาศ อ่างน้ำควรทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่ควรให้ถูกแดดจะทำให้น้ำมีความร้อน โคจะกินน้ำน้อยและทำให้กินอาหารได้น้อยลงด้วย

              โคที่โตช้าควรคัดออก เมื่อโคถ่ายมูลออกมาควรรีบตักออกโดยเร็ว จะทำให้คอกสะอาดอยู่เสมอ ควรล้างคอกเมื่อสกปรกมากเท่านั้น การอาบน้ำแปรงขนจะทำให้โคไม่เครียดและโตเร็ว การอาบน้ำและล้างคอกควรทำให้ช่วงบ่ายเพราะคอกจะแห้งเร็ว ไม่ชื้นแฉะ ซึ่งอาจทำให้โคปอดบวมได้ ไม่ควรปล่อยโคออกไปเดินแทะเล็มหญ้านอกคอกเพราะจะทำให้โคใช้พลังงานจากอาหารมากขึ้น น้ำหนักจะลดหรือโตช้าลง

              สังเกตว่าโคกินอาหารได้ตามปกติหรือไม่ โคทีไม่กินอาหารควรฉีดวิตามิน บี 12 เพื่อช่วยกระตุ้นจะลินทรีย์ที่ช่วยย่อยเยื่อใยของอาหาร ให้แร่ธาตุที่มีโคบอลต์เพื่อเสริมการออกฤทธิ์ของวิตามิน บี

              โคที่กินอาหารข้นมากเกินไปจะเป็นกรดในกระเพาะอาหารทำให้เบื่ออาหาร ท้องร่วงมีมูกเลือด หากโคเริ่มแสดงอาหารดังก่าวให้ลดอาหารข้นลง เพิ่มอาหารหยาบ เช่นหญ้า ให้กินมากขึ้น โคที่ป่วยไม่มากนักให้กรอกด้วยด่างเข้าทางปาก ด่างที่ใช้เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต 112 กรัม ผสมกับน้ำอย่างน้อย 600 มิลลิลิตร (หรือประมาณ 1 ขวดกลม) หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-3 ชั่วโมง ให้กรอกอีกครั้งโดยใช้ด่างครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าว หรือใช้น้ำเกลือกแทงเข้าเส้นเลือดบริเวณคอ เพราะน้ำเกลือเข้าสู่ร่างกายจะออกฤทธิ์เป็นด่าง หากโคมีอาหารหนักมากให้ตามเจ้าหน้าที่หรือสัตวแพทญืมารักษา เพราะอาจต้องผ่าเปิดกระเพาะเอาอาหารข้นออกแล้วแทนที่ด้วยฟางหรืออิเล็กโทรไลต์ หลังจากนั้นต้องฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ การฉีดแอนติฮีสตามินจะช่วยให้โคฟื้นตัวเร็วขึ้น โคที่เป็นเรื้อรังควรคัดออก

              โคที่มีการท้องอืด อาการที่เห็นชัดคือ สวาปด้านซ้ายพองเต่ง โคอึดอัดกระวนกระวายหายใจไม่ออก วิธีแก้ใหยกส่วนหน้าโคให้สูงหรือใช้สายยางขนาด 1/2 นิ้ว ยาวประมาณ 150 ซ.ม. แหย่เข้าไปในปากจนถึงกระเพาะ หรือใช้โทรคาแคนนูลาหรือไม้ไผ่ตัดเป็นปากฉลามขนาด 1/4 นิ้ว ยาว 7-8 นิ้ว แทงบริเวณกลางสวาปซ้าย กรณีที่มีฟองแก๊ซมากต้องกรอกปากโคด้วยน้ำมันพืชปริมาณ 0.5-1 ลิตร ทุกครึ่งชั่วโมง เมื่อรักาาหายแล้วควรหาสาเหตุเพื่อแก้ไขซึ่งอาจเกิดเนื่องจากได้กินหญ้าอ่อน พืชตะรกูลถั่ว ยูเรีย และอาหารข้นมากเกินไป หรืออาจเกิดจากการกินอาหารที่เน่าเสีย สารพิษ สารเคมี

              โคที่มีอาการซึม เบื่ออาหาร หายใจถึ่ หายใจไม่สะดวก มีน้ำมูกไหล อาจเป็นปอดบวม แก้ไขโดยให้โคอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท อยู่สบาย ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น สเตรปโตมัยซิน เพนนิซิลลิน ออกซีเตตราซัยคลิน หรือนีโอมัยซิน เป็นต้น

              ไม่ควรให้ฝูงโคจากภายนอกเข้ามาในบริเวณที่ขุนโค เพราะจะทำให้โคขุนติดโรคระบาดได้
              ควรวัดรอบอกโคอย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อจะได้ทราบการเจริญเติบโตของโค บันทึกความยาวรอบอกที่วัดเก็บไว้ด้วย

    อาหารและการให้อาหารโคขุน

    1. อาหารหยาบ
              อาหารหยาบ คือ อาหารที่มีเปอร์เซนต์ของเยื่อใยสูง มีเปอร์เซนต์ของโปรตีนต่ำ ส่วนใหญ่ได้แก่หญ้า อาหารหยาบเป็นอาหารหลักของโค และสัตว์กระเพาะรวมอื่นๆ ซึ่งได้จาก 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ

              (1) หญ้า อาจได้จากทุ่งหญ้าตามธรรมชาติหรือจากการทำแปลงหญ้า แต่ในการเลี้ยงโคขุนควรจะทำแปลงหญ้าเองเพราะเป็นที่ทราบกันแล้วว่าโคขุนต้องการอาหารที่ค่อนข้างดี โดยเฉพาะการเลี้ยงโคขุนโดยใช้อาหารหยาบล้วนก็จำเป็นจะต้องมีแปลงหญ้าคุณภาพดี หญ้าที่แนะนำได้แก่ หญ้าขน หญ้ารูซี่ ซึ่งเหมาะต่อการเลี้ยงโดยการปล่อยแทะเล็ม และหญ้ากินนีเหมาะสำหรับตัดสด โดยทั่วไปโคจะกินหญ้าสดประมาณวันละ 35-40 ก.ก./ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดของโค แต่ในการเลี้ยงโคขุนเราใช้อาหารข้น ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงเสริมให้โค โคจึงอาจมีความต้องการอาหารหยาบลดลง
              (2) วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรอื่นๆ เช่น ฟางข้าว เปลือกสับปะรด ต้นข้าวโพด ยอดอ้อย ถึงแม้ว่าวัสดุดังกล่าวบางอย่างจะมีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างต่ำ แต่ก็สามารถใช้เลี้ยงโคขุนแบบขุนโดยเสริมอาหารข้นได้ดี คุณค่าทางอาหารนี้ที่ขาดไปจากวัสดุเหล่านี้ก็จะเสริมให้โดยสูตรอาหารข้น

    2. อาหารข้นหรืออาหารผสม
              อาหารข้น คืออาหารที่มีเปอร์เซนต์เยื่อใยต่ำ มีเปอร์เซนต์โปรตีนสูง มีการย่อยได้สูง ประกอบด้วยวัสดุต่าๆง ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงผสมกันให้ครบส่วนตามความต้องการของโค ใช้เสริมกับอาหารหยาบ และอาจเลือกใช้สูตรให้เหมาะสมกับวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นและราคาถูก

    ตารางที่ 1
    สูตรอาหารสำหรับโคอายุ 7-12 เดือน หรือน้ำหนักไม่เกิน 200 ก.ก. มีดังนี้

    วัตถุดิบ
    สูตรที่
    1
    2
    3
    4
    5
    6
    7
    8
    9
    10
    ข้าวโพด
    มันเส้น
    ปลายข้าว
    รำละเอียด
    กากฝ้ายทั้งเปลือก
    กากถั่วเหลือง
    ใบกระถินล้วน
    กากมะพร้าว
    ยูเรีย
    กระดูกป่น
    เกลือป่น
    กำมะถันผง
    78.5
    -
    -
    -
    -
    -
    16.5
    -
    2.5
    1
    1.0
    0.1
    75
    -
    -
    -
    -
    -
    10
    10
    2.5
    1
    1.0
    0.1
    70
    -
    -
    20
    -
    5
    -
    -
    2.5
    1
    1.0
    0.1
    40
    30
    -
    -
    10
    5
    10
    -
    2.5
    1
    1.0
    0.1
    40
    -
    40
    -
    -
    5
    -
    10
    2.5
    1
    1.0
    0.1
    15
    50
    -
    10
    -
    10
    10
    -
    2.5
    1
    1.0
    0.1
    -
    65
    -
    -
    10
    10
    10
    -
    2.5
    1.5
    1.0
    0.1
    -
    70
    -
    -
    5
    15
    5
    -
    2.5
    1.5
    1.0
    0.1
    -
    -
    70
    10
    -
    5
    10
    -
    2.5
    1.5
    1.0
    0.1
    -
    -
    75
    -
    -
    5
    15
    -
    2.5
    1.5
    1.0
    0.1
    % โปรตีน
    % โภชนะย่อยได้ (TDN)
    % แคลเซียม
    % ฟอสฟอรัส
    18.0
    74.0
    1.1
    0.5
    17.9
    73.4
    1.1
    0.8
    18.2
    74.5
    1
    0.6
    18.3
    74.4
    0.9
    0.4
    17.7
    75.7
    1.1
    0.6
    17.6
    75
    0.9
    0.4
    17.9
    74
    0.9
    0.4
    17.6
    75.7
    0.8
    0.4
    18.3
    74
    0.9
    0.5
    18.4
    74
    1.2
    0.4
    ที่มา : กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์

    ตารางที่ 2 สูตรอาหารสำหรับโคอายุ 1 ปีขึ้นไป หรือน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 200 ก.ก. มีดังนี้

    วัตถุดิบ
    สูตรที่
    1
    2
    3
    4
    5
    6
    7
    8
    9
    10
    ข้าวฟ่าง
    ข้าวโพด
    ปลายข้าว
    มันเส้น
    กากฝ้ายกระเทาะเปลือก
    กากฝ้ายทั้งเปลือก
    ใบกระถินล้วน
    กระดูกป่น
    ยูเรีย
    เกลือป่น
    กำมะถันผง
    -
    -
    -
    82.5
    13
    -
    -
    1
    2.5
    1
    0.1
    -
    -
    -
    75.5
    -
    20
    -
    1
    2.5
    1
    0.1
    20
    -
    -
    60.5
    -
    -
    15
    1
    2.5
    1
    0.1
    -
    25
    -
    55.5
    -
    -
    15
    1
    2.5
    1
    0.1
    40
    -
    -
    47.5
    -
    -
    8
    1
    2.5
    1
    0.1
    -
    50
    -
    37.5
    -
    -
    8
    1
    2.5
    1
    0.1
    60
    -
    -
    22.5
    -
    -
    -
    1
    2.5
    1
    0.1
    -
    70
    -
    16.2
    -
    -
    -
    1
    2.5
    1
    0.1
    -
    -
    90
    -
    -
    -
    5.8
    1
    2.5
    1
    0.1
    -
    95.8
    -
    -
    -
    -
    -
    1
    2.5
    1
    0.1
    % โปรตีน
    % โภชนะย่อยได้ (TDN)
    % แคลเซียม
    % ฟอสฟอรัส
    14.00
    77
    0.54
    0.40
    14.2
    73.6
    0.55
    0.30
    14.0
    75.5
    0.64
    0.30
    14.0
    75.4
    0.72
    0.25
    14.1
    75.4
    0.58
    0.40
    14.0
    75.5
    0.74
    0.30
    14.1
    76.5
    0.53
    0.34
    14.2
    76.4
    0.77
    0.34
    14.4
    77.0
    -
    -
    14.2
    76.7
    -
    -
    หมายเหตุ ถ้าต้องการใช้อาหารข้นร่วมกับเปลือกสับปะรดควรเติมปูนขาวลงไปในอาหาร 2.5 ก.ก.ทุกๆ 100 ก.ก. ของอาหารข้นเพื่อลดการเป็นกรด
    ที่มา : กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์

    ตารางที่ 3 สูตรอาหารสำหรับโคขุน

    วัตถุดิบ
    อาหารสำหรับโคขุน (น้ำหนัก 250-450 ก.ก.)
     
    สูตรที่ 1
    สูตรที่ 2
    สูตรที่ 3
    สูตรที่ 4
    สูตรที่ 5
    รำละเอียด
    รำหยาบ
    ปลายข้าว
    ข้าวฟ่างบด
    ข้าวโพดบด
    มันเส้น
    กากถั่วเหลือง
    กากปาล์ม
    กากมะพร้าว
    ใบกระถินป่น
    อาหารแร่ธาตุ
    กระดูกป่น
    เปลือกหอยป่น
    ไดแคลเซียมฟอสเฟต
    กำมะถัน
    เกลือ
    ยูเรีย
    หัวอาหาร
    15
    -
    -
    31
    40
    -
    10
    -
    -
    -
    4
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    15
    -
    31
    -
    40
    -
    10
    -
    -
    -
    4
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    26
    -
    -
    -
    60
    -
    10
    -
    -
    -
    4
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    15
    -
    -
    -
    5
    60
    10
    -
    -
    10
    4
    -
    -
    -
    -
    -
    1
    -
    20
    5
    -
    -
    20
    20
    -
    20
    5
    5
    0.5
    1
    0.4
    0.5
    0.1
    1
    1
    0.5
    ที่มา :  (1) กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ (สูตรที่ 1-4)
             (2) สอบถามจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุน (สูตรที่ 5)


    ตารางที่ 4 แสดงปริมาณอาหารข้นที่จะใช้เสริมเมื่อใช้อาหารหยาบตามชนิดและปริมาณต่างๆ ให้เหมาะสมกับขนาดของสัตว์ต่อวัน

    น้ำหนักโค (ก.ก.)
    เลี้ยงร่วมกับหญ้าสดหรือต้นข้าวโพดอ่อน
    เลี้ยงร่วมกับฟาง
    เลี้ยงร่วมกับเปลือกสับปะรด
    ระยะเวลาในการขุนเพื่อ
    ให้ได้น้ำหนัก 400 ก.ก. เมื่ออัตราการเจริญเติบโตต่อวัน
    เท่ากับ 0.8 ก.ก. (วัน)
    อาหารข้น (ก.ก.)
    หญ้าหรือต้นข้าวโพด (ก.ก.)
    อาหารข้น (ก.ก.)
    ฟาง (ก.ก.)
    อาหารข้น (ก.ก.)
    เปลือกสับปะรด (ก.ก.)

     100
    150
    200
    250
    300
    350
    400
    450

     2
    2.5
    3.0
    3.5
    4.0
    5.0
    6.0
    7.0
    5
    11
    12
    15
    18
    16
    16
    16
    2.5
    3.0
    3.5
    4.0
    4.5
    5.5
    6.5
    7.5
    1
    2.5
    3.5
    5.0
    6.0
    5.0
    5.0
    5.0
    -
    2.0
    2.5
    3.0
    3.5
    4.0
    5.0
    6.0
    -
    25
    30
    35
    40
    45
    45
    45
    375
    313
    250
    188
    125
    63
    -
    -

    หมายเหตุ
              1) ให้กินอาหารข้นตามปริมาณที่แสดงไว้ในตารางและให้กินอาหารหยาบอย่างเต็มที่ หรือไม่ควรน้อยกว่าในตาราง จะทำให้โคเจริญเติบโตได้วันละประมาณ 0.8-1 ก.ก.
              2) ถ้าอาหารหยาบคุณภาพดีกว่า เช่นหญ้าอ่อนก็อาจจะลดอาหารข้นลงอีกได้ตามสมควร


              อธิบายตารางที่ 4 ตัวอย่าง ถ้าโคที่ต้องการขุนมีน้ำหนักเริ่มต้น 100 ก.ก. เลี้ยงด้วยหญ้าหรือต้นข้าวโพดอ่อน โคจะกินหญ้าหรือต้นข้าวโพดประมาณ 5 ก.ก./วัน และผู้เลี้ยงก็จะต้องเสริมอาหารข้นให้โควันละ 2 ก.ก. และเมื่อโคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 150, 200, 250 ... ตามความต้องการอาหารก็จะเพิ่มขึ้นดังตาราง ทำให้โคได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกายและจะทำให้โคมีการเจริญเติบโต เพิ่มน้ำหนักวันละ 0.8 ก.ก. ซึ่งจะใช้เวลาขุนประมาณ 375 วัน เพื่อให้ได้น้ำหนักตัว 400 ก.ก.
              ถ้าเริ่มขุนโคที่มีน้ำหนัก 200 ก.ก. ด้วยฟางข้าว ก็จะต้องให้โคกินฟางข้าว 3.5 ก.ก. อาหารข้น 3.5 ก.ก. เมื่อโคมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเป็น 250, 300, 350 ... ก็ให้อาหารเพิ่มขึ้นโดยคิดเป็นฟางข้าว/อาหารข้น 5/4, 6/4.5, 5/5.5 ... ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้โคเพิ่มน้ำหนักตัววันละ 0.8 ก.ก. และจะใช้เวลา 250 วัน ในการเพิ่มน้ำหนักตัวเป็น 400 ก.ก.
              สำหรับสูตรอาหารข้น ก็อาจจะใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง ตามความเหมาะสมของอายุโค และสภาพในท้องถิ่น


    หลักการให้อาหารโคขุน

              อาหารที่ใช้ขุนโคมีทั้งอาหารหยาบและอาหารข้น อัตราส่วนระหว่างอาหารหยาบและอาหารข้นจะเป็นเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับ
      1. ราคาของอาหารทั้งสองเปรียบเทียบกัน
      2. อายุและสภาพของโค
      3. ระยะเวลาของการขุน คือระยะต้นหรือระยะปลาย
      4. จำนวนอาหารข้นที่ให้ ให้กินอย่างเต็มที่หรือกินอย่างจำกัด ถ้าให้กินอาหารข้นจำกัด จำนวนอาหารหยาบที่ใช้เลี้ยงโคต้องเพิ่มสูงขึ้นด้วย
      5. อากาศ ถ้าอากาศร้อนควรให้อาหารข้นในปริมาณสูงขึ้น

              โดยปกติแล้วอัตราส่วนระหว่างอาหารหยาบต่ออาหารข้นสำหรับโคขุนควรเป็นดังนี้ คือ

      ระยะเริ่มต้น อาหารหยาบ : อาหารข้น = 70 : 30  
      ระยะกลางขุน อาหารหยาบ : อาหารข้น = 30 : 70  
      ระยะปลายของการขุน อาหารหยาบ : อาหารข้น = 15: 85  

              ปริมาณอาหารที่ให้โคขุน การให้อาหารที่ถูกต้องทั้งด้านปริมาณและโภชนะที่โคต้องการนั้น ต้องให้ตามความต้องการของโค ซึ่งจะมีการคำนวณและมีการใช้ตาราง ซึ่งจะต้องมีความรู้เรื่องนี้พอควร แต่ที่จะกล่าวต่อไปเป็นหลักเกณฑ์โดยปริมาณในการให้อาหารแก่โคขุนที่มีอายุต่างๆ กันคือ
      1. โคมีอายุ 2 ปีขึ้นไป กินอาหารวัตถุแห้ง 2% ของน้ำหนักตัว
      2. โคที่มีอายุ 1-2 ปี กินอาหารวัตถุแห้ง 2.5% ของน้ำหนักตัว
      3. โคอายุต่ำกว่า 1 ปี กินอาหารวัตถุแห้ง 3% ของน้ำหนักตัว


              ตัวอย่าง โคตัวหนึ่งอายุ 2 ปี หนัก 240 ก.ก. ถูกนำมาขุนระยะหนึ่งโดยใช้อัตราส่วนระหว่างอาหารหยาบต่ออาหารข้น 30 : 70 อยากทราบว่าจะให้โคตัวนี้กินอาหารหยาบและอาหารข้นวันละเท่าใด
      โคกินอาหารวัตถุแห้ง (2% น้ำหนักตัว) = 2/100 X 240  
        = 4.80 ก.ก.
      ในอาหารหยาบจะมีวัตถุแห้ง = 4.80 X 30 / 100  
        = 1.44 ก.ก.
      ในอาหารข้นจะมีวัตถุแห้ง = 4.80 - 1.44  
        = 3.36 ก.ก.
      (โดยทั่วไปอาหารหยาบสดจะมีวัตถุแห้ง 20-25% มีความชื้น 75-80% ในที่นี้ขอใช้ 20%)  
      วัตถุแห้งในอาหารหยาบสด 20 ก.ก. มาจากหญ้าสด 100 ก.ก.
      วัตถุแห้งในอาหารหยาบสด 1.44 ก.ก. มาจากหญ้าสด = (100 X 1.44) / 20  
        = 7.2 ก.ก.
      (โดยทั่วไปอาหารข้นที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ จะมีความชื้นระหว่าง 12-15% ในที่นี้ขอใช้ 12%)  
      อาหารข้นมีวัตถุแห้ง (100-12) 88 ก.ก. มาจากอาหารข้น = 100  
      อาหารข้นมีวัตถุแห้ง 3.36 ก.ก. มาจากอาหารข้น = (100 X 3.36) / 88  
        = 3.82 ก.ก.
      คำตอบ โคขุนตัวนี้ควรได้รับอาหารดังนี้    
        <font face="MS

    • Update : 10/7/2554

    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch